หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555

การทำบุญของชาวบ้านผักหวาน ในทุกๆวันพระ

ชาวบ้านผักหวาน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทุกคนต่างร่วมใจกันเดินทางมาร่วมบุญในทุกๆวันพระที่วัดโพธาราม ช่างเป็นภาพที่น่าประทับใจจริงๆ สาธุ...สาธุ...

ต้นโพธิ์เก่าแก่

โพธิ์ต้นนี้ ผู้เฒ่าผู้แก่ในพื้นที่เล่าฟังว่า เกิดมาก็เห็นแล้ว ทุกๆเสียงเล่าให้ฟังเป็นเสียงเดียวกันว่าอายุไม่น่าจะต่ำกว่า ๓๐๐ ปีแน่ๆ เพราะชื่อวัดตั้งตามชื่อต้นโพธิ์ต้นนี้

วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555

มาชมภายในกัน

ประตูทางเข้าอุโบสถ ขอบวงกบประตูเป็นไม้ใหญ่มากๆ และลวดลาย ก็ยิ่งเพิ่มความเก่าแก่อีก

อุโบสถหลังเก่า


ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้อาตมาฟังว่า พวกเขาเกิดมาก็เห็นอุโบสถหลังนี้แล้ว และจากหลักฐานของวัดเริ่มตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี อายุประมาณ ๓๐๙ ปี ( ถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ) เพราะมีมาพร้อมวัดโพธิ์

หอระฆัง

เป็นภาพของหอระฆังเก่าเหมือนกัน

ภาพแห่งความทรงจำ


ภาพเหล่านี้ล้วนมีคุณค่า เป็นภาพแห่งความทรงจำ เพราะเป็นภาพที่เก่าแก่มาก ย้อนหลังไปเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2532 สมัยนั้น อาตมายังเป็นฆาราวาส ได้มาทำธุระที่บ้านผักหวาน ก็พบเห็นวัดโพธิ์ ( ในสมัยนั้น ) ยังคงมีศาลาที่เก่าแก่ ศาลาหลังนี้มีอายุ 50 ปีโดยประมาณ ก่อนที่จะถูกสร้างขึ้นมาใหม่อย่างที่เห็นในปัจจุบัน
ลองชมภาพในอดีตไปเรื่อยๆ

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

ศาลาหลังใหม่

ภาพศาลาหลังใหม่

แนะนำวัดโพธาราม

วัดโพธาราม หรือที่ชาวย้านเรียกสั้นๆว่า " วัดโพธิ " ตั้งอยู่เลขที่ 262 บ้านผักหวาน หมู่ที่ 5 ต.ถนนหัก อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เดิมหมู่บ้านเป็นหมู่ย่านในชนบท เป็นชุมชนเล็กๆ ตั้งอยู่กลางทุ่งนา อยู่ทางทิศตะวันออกของ อ.นางรอง ห่างจากที่ว่าการ  อ.นางรอง ประมาณ 3 กิโลเมตร อยู่กลางทุ่งนา มีหมู่บ้านตั้งอยู่ทั้ง 4 ทิศ มีลักษณะพิเศษคือ เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก จะมองเห็นหมู่บ้านเป็นเกาะลอยกลางน้ำ เหมือนสภาพหมู่บ้านในภาคกลางแถวๆ อ.วังน้อย จ.อยุธยา ภาษาที่พูดของชาวบ้านผักหวาน - นางรอง โดยทั่วไปพูดภาษาไทยโคราช ตามประวัติศาสตร์ เมื่อพูดถึงเมืองโคราช จะพบชื่อเมืองนางรองอยู่ด้วย จึงสันนิษฐานว่า เมืองนางรองคงตั้งเป็นชุมชน เป็นเมืองเก่าแก่ มาพร้อมๆกันกับเมืองโคราช
พ.ศ. 2245 วัดโพธาราม เป็นสถานที่เก่าแก่อีกแห่งหนึ่ง และเป็นวัดใหญ่ในเขตอำเภอนางรอง ตามหลักฐาน วัดนี้ได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฏหมาย อยู่ในสมัยกรุงศรีอยุทธยาเป็นราชธานี นับมาถึงปัจจุบันนี้ ( พ.ศ. 2555) ครบ 309 ปี
เจ้าอาวาสที่ปกครองวัดโพธารามองค์แรก ไม่พบหลักฐาน หรือประวัติแต่อย่างใด หรืออาจมีบันทึกไว้แต่ถูกไฟเผาไปก็ได้ เพราะเมื่อปี พ.ศ. 2489 กฏิวัดนี้ได้ถูกไฟไหม้ วอดไปทั้งหลัง ( เป็นคำบอกเล่าต่อๆกันมาจากคนรุ่นก่อน )
พ.ศ. 2451 หลวงพ่อก้อน เป็นเจ้าอาวาส มีตำแหน่งดังนี้
พ.ศ. 2468 เป็นเจ้าคณะอำเภอนางรอง
พ.ศ. 2473 เป็นพระครูโสภนธรรมคุตต์
พ.ศ. 2494 ท่านมรณะภาพด้วยโรคอาภาธ รวมอายุได้ 64 ปี
ก่อนที่ท่านจะมรณะภาพนั้น เมื่อท่านป่วยหนัก พระครูศีลโสภิต หรือ พระมงคลภัทราจารย์ ( หลวงปู่แถม ) ได้มีโอกาสกลับมาเยี่ยม และดูแลอาการป่วยอย่างใกล้ชิด เพราะสำนึกในบุญคุณพระอุปัชฌาย์ ก่อนที่หลวงพ่อก้อนจะมรณะภาพ ได้สั่งไว้กับ พระมงคลภัทราจารย์ ( หลวงปู่แถม ) ว่า " เมื่อฉันมรณะภาพแล้ว ขอให้ท่านดูแลวัดบ้านเราด้วย" จากถ้อยคำนี้เอง หลวงปู่แถม จึงได้ถือโอกาสมาเยี่ยมพระภิกษุ สามเณรและญาติโยมมิได้ขาด ปีละ 2 ถึง 3 ครั้ง หรือ ตามแต่โอกาส ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงเป็นที่ปรึกษาของพระสงฆ์ และคณะญาติโยมบ้านผักหวาน เป็นต้นมา ท่านเป็นพระมหาเถระผู้ใหญ่ และท่านได้ดูแล และอุปถัมป์วัดโพธารามเสมอมา มิได้ขาด เพราะเป็นวัดบ้านเกิดของท่าน
เมื่อท่านอุปสมบทที่วัดโพธาราม และจำพรรษาที่วัดนี้ 4 พรรษา สอบได้นักธรรมเอก จากการที่่ท่านชอบศึกษาเล่าเรียน จึงได้ย้านสำนัก เพื่อไปศึกษาเล่าเรียนต่อที่กรุงเทพฯ และสามารถสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค แล้วมาเป็นเจ้าอาวาส วัดทองพุ่มพวง จ.สระบุรี